Logo Thai Eng
 
banner
ข่าว และ กิจกรรม

ศึกษาดูงานศูนย์ป้องกันพิบัติภัยธรรมชาติต่อการขนส่ง
Highway Disaster Prevention Early Warnig Mechanism Center ที่ไทเป ไต้หวัน

วันที่ 12 เมษายน 2562

ทางสมาคมทางหลวงไต้หวัน ได้จัดทัศนศึกษา ดูงานที่ศูนย์ป้องกันภัยจากภัยธรรมชาติบนทางหลวง โดยเฉพาะหินหล่น คันทางพังทลาย (Disaster Prevention Center) ที่ กรมทางหลวงไต้หวัน Directorate General of Highways. ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับกรมทางหลวงไต้หวันแสดงด้วย และดูงานการบริหารจัดการท่ารถโดยสารทางไกล Taipei Bus Station ซึ่งคล้ายๆท่ารถหมอชิดของเรา แต่เขามีการบริหารจัดการที่ดีทำให้รถไม่ติดขัด และเขาทำเป็นศูนย์การเดินทาง มีรถไฟฟ้า รถไฟธรรมดา รถไฟความเร็วสูง อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน

ไต้หวันมีปัญหาทางหลวงมักมีหินหล่นหรือพังทลายลงมาเมื่อฝนตกมากๆ ทำให้เกิดเหตุเสียชีวิตบ่อยครั้ง เนื่องจากมีฝนมากกว่า 2,000 มม. ต่อปี ดังนั้นจึงตั้งสถานนีตรวจวัดฝนกว่าพันแห่งทั้งประเทศ เมื่อมีปริมาณฝนตกลงมามากใกล้สถิติที่เคยมีหินหล่นในพื้นที่นั้น เขาจะแจ้งเตือนผู้ใช้รถให้ระวัง โดยเตือนเป็นระยะๆ นับเวลาถอยหลังจาก 2 วัน เป็น 24 ชม จนถึงอีก 1 ชม และถึงจุดหนึ่งจะปิดถนนเลย แม้บางครั้งปิดถนนไปแล้วแต่ไม่มีหินหล่น โดยสถิติจะเกิดหินหล่นจริง ๆ ต่อการแจ้งราว 48% มีกล้องกว่าพันตัวคอยตรวจจับสภาพถนน จำนวนรถ วัดปริมาณฝนแล้วแจ้งเข้าศูนย์ผ่านโครงข่าย internet เพื่อประมวลผลและทำการแจ้งเตือน ตอนนี้หันมาก่อสร้างเป็น via duct ไม่กลัวดินสไล์หินหล่น หรือก่อสร้าง rockfall shelter ปิดคล่อมถนนที่มีหินหล่นบ่อยๆ นอกจากเป็นหลังคาคล่อมบนถนน ก็มีแบบให้กระดอนออกไปเลยคันทางแบบที่เห็น / ดูไปคล้ายศูนย์ควบคุมบริหารการจราจรของ ทล ที่ สป. คอยตรวจดูการจราจรและอุบัติเหตุ ถ้าเสริมข้อมูลอากาศเข้าไปก็ใช้เตือนภัยคันทาง สไลด์ได้ ---- กรมทาง ของไต้หวันได้รวมงานของกรมการขนส่งเข้ามาด้วย ดูแลเรื่องจดทะเบียนรถ ตรวจสภาพรถต่างๆ โดยเฉพาะรถโดยสาร แท๊กซี่ ตรวจระบบดับเพลิง อายุน้ำยาดับเพลิง ที่ทุบกระจก ทางฉุกเฉิน ล้อยาง สภาพรถ .. ออกใบอนุญาตขับขี่ มีการเก็บเงินเพื่อได้ทะเบียนเลขสวย นำโชคด้วย ไม่ใช้การประมูล เงินรายได้นั้นเอาไปใช้้ก่อสร้างทางต่อไป เขามีพิพิธภัณฑ์ แสดงประวัติความเป็นมาของกรมและงานก่อสร้างที่สำคัญๆ โดยกรมทางหลวงนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เดือนสิงหาคม 1946 และวิวัฒนาการของงานทางด้วย ทางด่วนสายแรกเริ่มก่อสร้างเมื่อ 1959 สายจินหม่า (ม้าทองคำ)

จากนั้นไปดูงานศูนย์รถขนส่งคนแบบหมอชิตของประเทศไทย โดยของไต้หวันอยู่ในเมืองมีระบบขนส่ง รถโดยสาร รถไฟความเร็วสูง MRT รถไฟธรรมดา รวมอยู่ใกล้กัน รถโดยสารมีที่จอดข้างนอกเข้ามาแค่รับ - ส่งคนโดยสาร ใช้เวลาคันละราว 8 นาที รถจึงไม่ติดขัด ที่จอดรถนี้ ดำเนินการแบบสัมปทาน 50 ปี ผู้รับสัมปทานบริหารจัดการเก็บค่าใช้ ท่าจอดรถ รับ-ส่ง ที่มีอยู่ 48 ท่าภายสถานี จากเจ้าของรถโดยสาร และธุรกิจพัฒนาอสังหาบ้านที่อยู่อาศัย คอนโดฯ โดยเช่าที่จากรัฐบาลราคาไม่แพงมาก เพื่อหารายได้มาชดเชยศูนย์ขนส่งที่ไม่กำไร เป็นแบบ BOT ก่อสร้าง บริหาร ครบอายุ มอบคืนรัฐ แต่มีเงื่อนไขว่าให้สิทธิ์ก่อนรายอื่นที่จะขอต่อสัมปทานได้ เสร็จแล้วเลี้ยงอาหารเที่ยงในศูนย์การค้าที่อยู่ในศูนย์รถขนส่งนี้ เป็นอาหารไทย ชุดใหญ่ ทานกันไม่หมดเลย - จบรายการประชุมครั้งนี้